อย่าทำงานเก็บเงินไปใช้ในห้อง ICU ก่อนจะสายเกินไป ควรอ่านเพื่อเตือนคนที่คุณรัก


 


อย่ามัวแต่ทำงานเก็บเงินเพื่อเอาไปใช้ในห้องไอซียู


เป็นเรื่องจริงที่ว่า คนสมัยนี้มักจะหักโหมกับการทำงานอย่างหนักเพราะการแข่งขันในสังคมที่สูงขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจที่ผลักดันให้ต้องดิ้นรนมากขึ้นกว่าเดิม จนลืมที่จะใส่ใจและดูแลสุขภาพ แต่มันจะคุ้มไหมกับการที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงิน เอาไว้รักษาตัวเองที่โรงพยาบาล ในวันที่สุขภาพเริ่มทรุดโทรม

9 สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณทำงานหนักเกินไปแล้ว มีอะไรบ้าง


1. มีอาการปวดเมื่อยตามตัว โดยเฉพาะบริเวณหลัง ไหล่ ท้ายทอย และปวดศีรษะ


2. ตาพร่ามัว มองเห็นภาพเบลอ


3. แค่ขยับก็รู้สึกเจ็บ เพราะเกิดอาการเอ็น ข้อ ยึด จากการนั่งติดเก้าอี้เป็นเวลานาน ๆ


4. รู้สึกหมดพลัง เหมือนไร้เรี่ยวแรงจะลุกไปไหน


5. ให้ความสนใจแต่เรื่องงาน คิดอะไรก็เป็นเรื่องงานไปซะหมด


6. ทำงานซะจนไม่มีเวลาให้ครอบครัว คนใกล้ตัว หรือแม้แต่ตัวเอง มักจะหอบงานกลับมาทำที่บ้านด้วยเสมอ ๆ


7. ทำงานจนดึก และมักจะอดนอนเป็นประจำ นอนไม่เต็มอิ่ม นอนไม่เพียงพอ


8. มีแนวโน้มดื่มกาแฟมากขึ้นทุกวัน ๆ


9. บางคนก็เกิดอารมณ์ฉุนเฉียวใส่เพื่อนร่วมงาน หงุดหงิดง่ายขึ้น มองอะไรก็ไม่สบอารมณ์ ทุกอย่างดูขวางหูขวางตาไปหมด เพราะเครียดกับงานมากเกินไป

ทำงานหนักเกินไปก่อให้เกิดผลเสียอะไรได้บ้างนะ ?


คนที่ทำงานหนักมากไป ลองหันกลับมาถามร่างกายดูบ้างก็ได้นะคะว่าเหนื่อยไหม ไหวหรือเปล่า เพราะอาการแรก ๆ ที่คนทำงานหนักได้พบเจอกันบ่อย ๆ นั่นก็คือความอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ซึ่งแปลได้ว่าร่างกายกำลังอ่อนแอลง และพร้อมจะรับเชื้อต่างๆที่ลอยล่องอยู่ตามสภาพแวดล้อมในที่ทำงานได้ง่ายขึ้น จนเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยต่อไปนี้


1. โ ร ค ตึกเป็น พิ ษ


เกิดขึ้นภายในที่ทำงาน จากสภาพแวดล้อมที่ทำงานที่ไม่ถูกสุขอนามัย มีฝุ่นหนา ไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดี ทำให้เกิดอาการ ซึ่งได้แก่ อาการอ่อนล้า ปวดหัว เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก ไอ จาม เกิดผดผื่นคัน ระคายเคืองดวงตา หรือมีความผิดปกติที่ประสาทรับกลิ่น


2. ความเครียด


การที่ต้องเจองานที่มีความกดดันสูง หรือบางทีเราก็กดดันตัวเองให้ต้องทำงานเยอะ ๆ ปัจจัยเหล่านี้แหละจะทำให้คุณมีระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความเครียดเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ปวดหัว อ่อนล้า และ อารมณ์เกรี้ยวกราด


3. น้ำหนักขึ้น


จากการศึกษาและเก็บสถิติพบว่า การนั่งเป็นเวลานานติดต่อกันวันละหลายชั่วโมง มีผลกระทบต่อระบบการเผาผลาญอาหาร เพราะการเผาผลาญจะน้อยลงเมื่อเรานั่ง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำหนักขึ้น และยังมีการวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่นั่งทำงานมากกว่าวันละ 6 ชั่วโมงต่อวัน อาจมีอัตราเสี่ยงในการ เ สี ย ชี วิ ต สูงกว่าผู้ที่นั่งทำงานเพียง 3 ชั่วโมงต่อวันถึง 40% เลยทีเดียว


4. ออฟฟิศซินโดรม


นั่งนาน ๆ หรือยืนนาน ๆ อาการปวดก็มักจะถามหา ยิ่งคนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ยิ่งเสี่ยงต่อออฟฟิศซินโดรม โดยจะมีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อมือ ตาแห้ง เห็นภาพเบลอ เมื่อจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ


5. ทำงานหนักจนเ สี ย ชี วิต


พูดง่าย ๆ ก็คือ ทำงานหนักจน ต า ย นั่นเอง และ ในญี่ ปุ่ น มีอัตราการจากไปของคนทำงานจากอาการนี้ค่อนข้างสูงมาก ดูได้จากข่าวที่เคยเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยบางคนนั่งรถไฟกลับบ้านอยู่ดี ๆ ก็ล้มตึงไปเอาดื้อ ๆ ทางการแพทย์จึงฟันธงว่า สาเหตุน่าจะมาจากทำงานหนักจนร่างกายรับไม่ไหว


ถ้าใครรู้ว่าตนเองกำลังเสี่ยง หรือ มีอาการตามที่กล่าวมานี้จากการทำงานหนักๆ ก็ควรที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซะใหม่ หันกลับมาดูแลสุขภาพให้มากขึ้น และตั้งใจทำงานแค่พอประมาณ ไม่หักโหมร่างกายจนเกินไป ไม่งั้นจะได้ไปอยู่ในห้อง ICU ก่อนได้ใช้เงินที่หามาอย่างยากลำบาก


ขอบคุณข้อมูลจาก : Postnet