บุญไม่เคยทำ ถึงเวลากรรมเข้าแล้วใครจะช่วย!


บุญไม่เคยทำ ถึงเวลากรรมเข้าแล้วใครจะช่วย!

เคยพบคนมากมายเมื่อถึงเวลาทุกข์แสนสาหัส เจอเรื่องหนักๆในชีวิต ก็มักจะพูดว่า”รู้แบบนี้”…

คือ คิดได้ทีหลัง แต่มันสายไปแล้ว…เช่นกัน เวลาที่กรรมไม่ดีส่งผล ซึ่งบางคนเจอติดๆ กันจนแทบรับมือไม่ไหว แทบหนีหายไปจากโลก คือ ไม่มีบุญต้าน บุญช่วยเลยไม่ว่าจะเป็นบุญเก่าบุญใหม่ พูดง่ายๆ ตัวเองไม่ช่วยตัวเองแล้วใครเขาจะช่วย…

จะบอกให้ทราบว่า คนที่มาช่วยนั้น ต้องเคยสร้างบุญร่วมกรรมมา ต้องมีบ่วงกรรมต่อกรรมไม่งั้นอยู่ดีๆ เขามาช่วย เป็นของฟรีๆเรื่องบังเอิญไม่มีในโลก เราไม่เคยให้คนอื่น ไม่เคยแม้แต่คิดช่วยคนอื่น สรรพสัตว์ทานไม่เคยทำ ศีลไม่รู้จักแถมเยาะเย้ยถากถางคนรักษาศีล


เห็นคนทำสมาธิหาว่าบ้า งานการไม่ทำนั่งทำไม


คนเหล่านี้แหละ เวลาไฟไหม้จะไม่มีใครช่วยขอแนะนำว่า บุญที่ไม่ต้องใช้เงิน กรรมดีที่สร้างมิตร สร้างบุญร่วมกันมีมากมาย ลองพิจารณาดู อย่าเห็นแก่ตัวมาก

หัดนั่งสมาธิ ง่ายๆ นั่งท่าสบาย ทำจิตให้สบาย ดูที่ลมหายใจเข้าและออกพอ รู้สึกสบายๆลองกำหนดนิมิตตรงกลางอกเรา มีดอกบัวอยู่กลางอกจากที่ดอกตูมค่อยบานออก บานออกเต็มที่แล้วอธิษฐานตามว่า

ขอบุญที่ข้าพเจ้าทำมาในทุกภพทุกชาติ ทุกอสงไขยขอบุญนี้มาส่งผลให้ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้ให้พบแต่ความดี เจริญรุ่งเรือง หนีกรรมชั่วทั้งปวงเทอญ

หมั่นทำบ่อยๆ ทุกๆวันสิ่งที่บอกนี้ คือ เคล็ดวิชาศักดิ์สิทธิ์ช่วยชีวิตคนที่เจอกรรมเข้ามามากมายแล้ว

ขอให้พิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยภูมิธรรม สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ได้อานิสงส์แรงจริง เริ่มต้นปฏิบัติธรรมที่บ้านอย่างไรให้ได้บุญมาก

การปฏิบัติเพื่อจุดมุ่งหมายให้พบสุข ต้องเข้าใจถึงเส้นทางแห่งความสำเร็จหรือการที่จะพาไปถึงความสุขนั้นได้จริง ไม่หลงทางไม่ผิดเส้นทาง ในทางธรรมนั้นก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งนั่นก็คือองค์รวมทั้งหมดของการปฏิบัติ ก่อนที่จะทราบถึงวิธีปฏิบัติ อันดับแรกที่เราต้องทำก็คือ ปรับทัศนคติให้ถูกต้องกับการปฏิบัติก่อน เปรียบกับเราหันหัวรถให้ตรงกับเส้นทางที่เราจะไปเสียก่อนจะได้ไม่ผิดทิศทาง ให้ความสำคัญกับ“จิต”ตนเอง

ในคำสอนของพระอริยสงฆ์ของพระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ ดุล อตุโล ท่านเคยเมตตากล่าวไว้ว่า “จิตนั้นคือสิ่งสูงสุด เป็นพุทธะที่แท้” หมายความว่าจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลสใด ๆแล้วคือเป็นสิ่งที่สูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ ดับแล้วซึ่งกิเลสทั้งสามกองใหญ่ ๆ คือ โลภ โกรธและหลง

การเน้นปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้บุญอย่างสูงสุด ผู้ที่มีสัมมาทิฐิจะมุ่งเน้นให้จิตสะอาดปล่อยวางจากสิ่งต่างๆได้ คือพิจารณาว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่มีอะไรเป็นของเราเลย” เมื่อเรารักษาความคิดของเราให้สามารถปล่อยวางได้ ความรู้สึกหรือจิตที่ขุ่นมัว เสียใจ น้อยใจ โกรธ โลภ หลง และรักอันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหมดก็จะสามารถหมดไปได้เองโดยธรรมชาติ ให้ความสำคัญต่อข้อปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่ต้องพึงปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

เมื่อให้ความสำคัญถึงเรื่องจิตว่าจะทำให้สะอาดได้อย่างไรก็จะทำให้น้อมนำมาสู่วิธีการที่ถูกต้องที่จะพึงปฏิบัติที่จะต้องทำให้สม่ำเสมอด้วย

ยกตัวอย่างเช่น การสวดมนต์ก็จะไม่สวดเพื่อมุ่งหวังในเมตตามหานิยมหรือการสวดอ้อนวอนเพื่อขอลาภขอทรัพย์หรือหวังให้มีอานุภาพฤทธิ์ใด ๆ แต่จะมุ่งเน้นให้จิตตั้งมั่นเกิดและมีสมาธิ จิตจดจ่ออยู่กับบทสวดเท่านั้น หรือการนั่งสมาธิทำจิตให้สงบก็จะไม่หวังเห็นนิมิตหรือหวังสร้างอภินิหารใดๆให้เกิดขึ้นแต่มุ่งเน้นให้จิตสามารถอยู่นิ่ง ๆอันเป็นพื้นฐานในการเจริญปัญญาที่ได้ผลต่อไป

ประการต่อมาก็คือ ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ได้ผลจริงนั้นควรมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติธรรมโดยจะพึงปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รู้จริงให้ได้มากที่สุดโดยไม่เห็นแก่สิ่งใด

ผู้คิดจะปฏิบัติธรรมคือ หมั่นรักษาการปฏิบัติโดยไม่เห็นแก่ความหนาว ไม่เห็นแก่ความร้อน ไม่เห็นแก่ความง่วงไม่เห็นแก่ความหิวใดๆ อันเป็นข้ออ้างที่จะขวางกั้นเพื่อการปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งหมายความรวมถึงการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันด้วย ให้ความสำคัญกับครูบาอาจารย์ผู้ที่ให้ความรู้และวิธีการในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง

คำว่า “พระพุทธศาสนา” นั้นแปลว่า “ศาสนาที่มีผู้รู้แจ้งรู้จริงอยู่” ดังนั้นการปฏิบัติธรรมให้ได้ผลอย่างแท้จริงนั้นจำเป็นต้องมี “ผู้รู้” หรือครูบาอาจารย์คอยให้คำแนะนำ ซึ่งประการสุดท้ายนี้นับว่าเป็นประเด็นสำคัญมากที่สุดข้อหนึ่งเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก http://songworldnull.com/2617/