เรื่องราวของ “ข้าวสารสามถุง” อ่านแล้วดีมากจริงๆ

 


เรื่องราวของ “ข้าวสารสามถุง” อ่านแล้วดีมากจริงๆ 

เรื่องต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงเกิดขึ้นในประเทศจีน ยุคท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุง

ครอบครัวนี้เสียคุณพ่อไปตอนที่ลูกเริ่มเรียนชั้นประถมแม่ไม่ยอมมีครอบครัวใหม่กัดฟันเลี้ยงลูกด้วยความรักแม้จะยากลำบาก

ในยุคนั้นไฟฟ้ายังมาไม่ถึงหมู่บ้านทุกๆ คืนภายใต้เสียงตะเกียงลูกชายจะนั่งท่องอ่านหนังสือส่วนคุณแม่จะนั่งเย็บปักถักร้อยอยู่เคียงข้างทุกฝีเข็มของแม่ จะค่อยๆเย็บเอาความรักของแม่…ฝังลึกเข้าไปในเสื้อผ้าของลูก

วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่าหนังสือชมเชยผลการเรียนของลูกติดเต็มฝาบ้านลูกเติบโตขึ้นทุกวันแม่เฝ้ามองดูลูกด้วยความชื่นชม

ลูกสอบเข้าโรงเรียนมัธยมแนวหน้าของมณฑลแต่แม่ก็เริ่มป่วยด้วยโรคไขข้ออักเสบอาการโรคหนักขึ้นทุกวัน เริ่มทำนาไม่ไหวความเป็นอยู่ในบ้านเริ่มมีปัญหา

โรงเรียนมัธยมในยุคนั้นทุกๆ เดือน นักเรียนทุกคนต้องนำข้าวสาร 15 กิโลกรัมมอบให้โรงเรียนเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนและค่าอาหาร

ลูกรู้ว่าแม่ไม่มีปัญญาหาข้าวสารมาให้ บอกแม่ว่า “ลูกไม่ขอเรียนต่อ จะได้ช่วยแม่ทำนา”
แม่ลูบหัวลูก “ลูกมีน้ำใจ แค่นี้แม่ก็ปลื้มแล้วแต่หนังสือต้องเรียนวางใจเถอะ ไปมอบตัวให้เรียบร้อยเดี๋ยวแม่จะส่งข้าวสารตามไป”

ลูกไม่ยอม แม่โกรธมากเอื้อมมือตบหน้าลูกชายไปหนึ่งฉาดใหญ่และนั่นคือการทำโทษครั้งแรก และครั้งเดียวในชีวิต

ลูกเดินทางอำลาจากบ้านไปเป็นนักเรียนประจำแม่มองดูการจากไปของลูกด้วยความครุ่นคิด

หลังจากนั้นไม่นานแม่ก้าวเดินด้วยความยากลำบากแบกถุงข้าวสารไปมอบให้โรงอาหารที่โรงเรียน

พ่อครัวรับถุงข้าวสารแล้วเปิดดู แล้วบ่นว่า “ทำไมถึงคิดจะเอาเปรียบโรงเรียนด้วยวิธีนี้ ดูสิ ข้าวเก่าข้าวใหม่เม็ดใหญ่เม็ดเล็กปนกันวุ่นไปหมดเห็นที่นี่เป็นถังขยะหรือไง”

แม่ได้แต่ละอายใจ ขอโทษพ่อครัวแล้วแม่ก็ได้ควักถุงผ้าเล็กๆ ออกมาถุงนึง “คุณพ่อครัวค่ะ นี่เป็นเงินห้าเหรียญรบกวนฝากให้ลูกชายดิฉัน ให้เป็นค่าใช้จ่ายของเขา”

พ่อครัวรับถุงที่หนักหน่วงไว้ในมือรู้ว่าข้างในถุงคงมีแต่เศษเหรียญเล็กๆเลยกล่าวแบบหยอกล้อว่า “สงสัยเธอคงมีอาชีพขายไข่ต้มข้างถนนเป็นแน่”

เดือนถัดมา แม่ก็แบกถุงข้าวสารมาส่งมอบเหมือนเดินพอเปิดดู สภาพข้าวสารแย่เหมือนเดิน พ่อครัวเริ่มบ่น “ข้าวสารแบบนี้ไม่ไหวหน่า หุงแล้วสุกบ้างไม่สุกบ้างคราวหน้าถ้ามาแบบนี้ เราไม่รับไว้นะ”

เดือนที่สาม สภาพข้าวสารก็แย่เหมือนเดิม พ่อครัวโกรธจัด เริ่มคุมอารมณ์ไม่อยู่ “คุณแม่ครับ ทำไมดื้ออย่างงี้เอาคืนไปเลย แบกมายังไงก็ให้แบกกลับไปแบบนั้น”

แม่คงคาดการณ์ไว้แล้วว่าเหตุการณ์จะเลวร้ายเช่นนี้ เธอรีบคุกเข่าลงทรุดกับพื้น น้ำตาเริ่มไหล “ท่านค่ะ ดิฉันขอสารภาพค่ะ ข้าวสารเหล่านี้เป็นข้าวสารที่ดิฉันไปขอทานเขามา”

พ่อครัวตกใจ จุกอก พูดอะไรไม่ออก เธอถลกขากางเกงขึ้นมา ขาของเธอบวมเป่ง แข็งทื่อ
“ฉันเป็นโรคไขข้ออักเสบระยะรุนแรง เดินยังเดินแทบไม่ไหว จะเอาปัญญาที่ไหนไปทำนาลูกชายฉันรู้ดี แกไม่ยอมมาเรียนแต่เป็นฉันที่แข็งใจตบสั่งสอนไล่เขามาเรียนให้ได้”

เธอพูดต่อ “ฉันกลัวเพื่อนบ้านในหมู่บ้านรู้ว่าฉันต้องไปเป็นขอทาน เพราะถ้ารู้ไปถึงหูลูกชาย จะเป็นการทำร้ายจิตใจเขา ทุกๆ เช้าก่อนฟ้าสาง ฉันต้องรีบถือถุงเปล่าออกจากหมู่บ้าน เพื่อไปขอทานยังหมู่บ้านอื่น จนดึกจนดื่นถึงกล้ากลับบ้าน เพราะกลัวเจอเพื่อนบ้าน นี่คือสาเหตุของข้าวสารปะปนกันสารพัดชนิด”

พ่อครัวรับฟังด้วยความเศร้าใจพร้อมน้ำตา พยุงเธอขึ้นมา “ผมจะไปรายงานให้อาจารย์ใหญ่ทราบ จะขอให้โรงเรียนบริจาคเงินช่วยเหลือให้เธอ”

เธอรีบปฏิเสธ “ไม่ได้ค่ะ ไม่ได้ หากลูกรู้ว่าแม่เป็นขอทานเพราะเขา คงจะเป็นการทำร้ายจิตใจลูกเกินไปและต้องกระทบผลการเรียนลูกแน่ ขอขอบพระคุณในความหวังดีแค่กรุณาช่วยรับข้าวสารไว้ก็เป็นพระคุณแล้ว” แล้วเธอก็จากไปด้วยก้าวเดินอันยากลำบาก

ในที่สุด อาจารย์ใหญ่ก็ทราบเรื่อง แต่อาจารย์ใหญ่เก็บความลับไว้ โรงเรียนจัดการมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนคนนี้ในฐานะเรียนดีแต่ยากจน

หลังจากนั้นสามปี ด้วยผลสอบ 627 คะแนน นักเรียนคนนี้สามารถสอบติดมหาวิทยาลัยชิงหัว ปักกิ่งอันเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศจีน

ในวันฉลองพิธีจบการศึกษา

ลูกชายเป็นนักเรียนคนเดียวที่ถูกจัดให้นั่งบนเวที

ลูกชายเริ่มสงสัย

ถ้าในฐานะนักเรียนดีเด่น

ก็ยังมีเพื่อนๆ อีกหลายคนที่ดีเด่นเช่นกัน

ทำไมต้องเป็นเขาคนเดียวที่นั่งอยู่ตรงนี้

ที่แปลกยิ่งกว่านั้นคือ

มีถุงข้าวสารสามถุงวางอยู่บนโต๊ะกลางเวที

พ่อครัวเป็นคนขึ้นเวที

แล้วเริ่มต้นเล่าเรื่องราวของคนคนหนึ่ง

ยอมไปขอทานเพื่อส่งลูกเรียน

เรื่องราวถูกเล่าอย่างละเอียดทุกขั้นตอน

ข้างล่างเวทีต่างฟังด้วยความเงียบกริบ ซาบซึ้ง

พอพ่อครัวเล่าเรื่องจบ

อาจารย์ใหญ่ขึ้นพูดต่อด้วยความตื้นตัน

เขาชี้ไปที่ถุงข้าวสารสามถุง

“และนี่คือข้าวสารสามถุงที่คนเป็นแม่หามาให้ลูกเรียนนี่คือข้าวสารที่มีเงินเท่าไหร่ก็หาซื้อไม่ได้บนโลกใบนี้ขอเรียนเชิญคุณแม่ที่ยิ่งใหญ่ผู้นี้ขึ้นเวที”

ลูกชายมองไปรอบข้างด้วยความสงสัย

แล้วสิ่งที่เขาเห็นคือ

พ่อครัวประคองคุณแม่เดินขึ้นเวทีมาช้าๆ

เราคงไม่รู้หรอกว่าคนเป็นลูกจะรู้สึกอย่างไรในตอนนั้น

แน่ใจว่าความหวั่นไหวคงไม่น้อยว่าพายุลูกใหญ่ในท้องทะเลที่บ้าคลั่ง

และแล้ว ฉากที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกมนุษย์ก็เกิดขึ้น

แม่ลูกสบตากัน

สายตาของแม่เต็มไปด้วยความอบอุ่น นิ่มนวล

ผมหงอกกระจายอยู่เต็มหน้าผาก

ลูกชายโผเข้ากอด

ร้องไห้ออกมาอย่างสุดกลั้น

“แม่ครับ แม่…….”

ข้าวสารสามถุงในเรื่องนี้

เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ

ที่กว้างใหญ่ไพศาลดั่งเวหา

ที่หนักแน่นมั่นคงดั่งภูผา

คงไม่ใช่พ่อแม่ทุกคน

ที่ต้องลำบากลำบนเหมือนแม่คนนี้

เพียงเพื่อค้ำจุนลูกให้มีเส้นทางที่ดีในชีวิต

แต่ความรักของพ่อแม่ทุกคนที่มีต่อลูกๆ

ย่อมมีความคล้ายคลึงเฉกเช่นเดียวกัน

บุญคุณของพ่อแม่

คือผู้ที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเรา

เป็นรักที่ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน

ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะหาใดๆ มาเปรียบเทียบใด

ลูกหลานทั้งหลาย

ความกตัญญูรู้คุณรอกันไม่ได้

ท่านรักเราตั้งแต่วันที่เราลืมตาดูโลก

เราคงไม่ต้องรอถึงวันที่ท่านหลับตาลาโลก

แล้วค่อยมาสำนึกถึงบุญคุณท่าน

หากคุณอ่านเรื่องนี้จบด้วยความซาบซึ้งหรืออาจมีคราบน้ำตา

ช่วยกันส่งต่อให้คนอื่นได้อ่านกันต่อๆไป

นั่นจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยจรรโลง…..

ให้โลกนี้มีความรักมากขึ้น

ที่มา : “ขจรศักดิ์”